เมื่อวันที่ 7 มี.ค. ที่ผ่านมา สวีเดนเข้าร่วมกับกลุ่มพันธมิตรทางทหารนาโต (NATO) อย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากดำเนินกระบวนการต่อเนื่องมานานกว่า 2 ปี ตั้งแต่ช่วงที่สงครามรัสเซีย-ยูเครนเริ่มขึ้น
การที่สวีเดนจะเข้าร่วมกับนาโตนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยเมื่อกว่า 2 ปีที่แล้ว เพราะสวีเดนเป็นประเทศที่มีจุดยืนเป็นกลางมาตลอดในความขัดแย้งใด ๆ ก็ตาม ด้วยนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่มีมา 200 ปี แม้แต่ในช่วงสงครามโลกทั้งสองครั้งก็ยังคงจุดยืนนั้น
ยูเครนไม่ทิ้งแผนรุกกลับ แม่ทัพบกชี้ถอยทัพเพื่อตั้งหลัก
กรุงนิวยอร์กส่งทหาร 700 นายคุมเข้มรถไฟใต้ดิน คุมเหตุอาชญากรรม คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สหรัฐฯ เตรียมสร้างท่าเรือส่งความช่วยเหลือให้ชาวกาซา
แต่การรุกรานยูเครนของรัสเซีย ทำให้สวีเดนและฟินแลนด์ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มนอร์ดิก เริ่มตื่นตัวต่อภัยคุกคามที่รัสเซียอาจสร้างขึ้น ประกอบกับประชาชนในประเทศเปลี่ยนความคิดและเห็นชอบให้รัฐบาลนำประเทศเข้าเป็นสมาชิกนาโต
นายกรัฐมนตรีสวีเดน อูล์ฟ คริสเตอร์สสัน ส่งมอบเอกสารการภาคยานุวัติอย่างเป็นทางการให้กับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการเพื่อขออนุมัติจากสมาชิกทั้งหมดเพื่อให้ประเทศของเขากลายเป็นสมาชิกชาติที่ 32 ของกลุ่ม
แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้รับเอกสารดังกล่าว และกล่าวว่า นี่เป็นผลมาจากการทูตที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยมาเกือบ 2 ปีของสมาชิกนาโต
ด้านประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน กล่าวต้อนรับการเข้าเป็นสมาชิกของสวีเดนว่า การเข้ามาครั้งนี้จะทำให้กลุ่มพพันธมิตรเป็นหนึ่งเดียวกัน มุ่งมั่น และมีพลังมากขึ้นกว่าเดิม และสามารถยืนหยัดเพื่อรักษาเสรีภาพและประชาธิปไตยสำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไปได้
คริสเตอร์สสันขอบคุณพันธมิตรที่ต้อนรับสวีเดนเข้าสู่กลุ่ม และบอกว่า “เราจะมุ่งมั่นเพื่อความสามัคคี ความเป็นหนึ่งเดียว และแบ่งปันภาระ และจะปฏิบัติตามค่านิยมของสนธิสัญญาวอชิงตันอย่างเต็มที่ ซึ่งได้แก่ เสรีภาพ ประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคล และหลักนิติธรรม ให้แข็งแกร่งขึ้นไปด้วยกัน”
ทั้งนี้ ฟินแลนด์ซึ่งมีพรมแดนร่วมกับรัสเซียยาว 1,300 กิโลเมตร ได้เข้าร่วมนาโตอย่างเป็นทางการไปตั้งแต่เดือน เม.ย. 2023 ซึ่งเร็วกว่ามาก เนื่องจากสวีเดนถูกขัดขวางเป็นเวลาหลายเดือนโดยตุรกีและฮังการี
รัฐสภาของตุรกีเพิ่งลงมติเมื่อเดือน ม.ค. เพื่ออนุมัติข้อเสนอของสวีเดนหลังจากความตึงเครียดหลายเดือนระหว่างทั้งสองประเทศ โดยสาเหตุหลักมาจากการประท้วงเผาคัมภีร์อัลกุรอานในสวีเดนซึ่งทำให้ตุรกีโกรธเคืองเป็นอันมาก
ส่วนฮังการีนั้น นายกรัฐมนตรี วิกเตอร์ ออร์บาน ปฏิเสธที่จะไฟเขียวข้อเสนอของสวีเดนหลายครั้ง แต่ในที่สุดรัฐสภาของฮังการีก็อนุมัติการภาคยานุวัติของสวีเดนเมื่อเดือนที่แล้ว
เรียบเรียงจาก CNN
8 มีนาคม “วันสตรีสากล” รำลึกการเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียมของผู้หญิง
แฟนการ์ตูนอาลัย “โทริยามะ อากิระ” ผู้สร้าง “ดราก้อนบอล” เสียชีวิตแล้ว
ประกาศเตือนพายุฤดูร้อน ฉบับที่ 7 ฝนจ่อถล่มไทยหลายพื้นที่