จากกรณี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุชัดว่าพร้อมสู้กรณีหุ้น ITV เมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีข้อความบ่างช่วงมีการอ้างถึง บรรทัดฐานตามคำสั่งศาลฎีกา คดีหมายเลขแดงที่ ลต สสข 24/2566 (คดีนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์)
วันนี้ PPTV จึงเปิดคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีดังกล่าว เพื่อให้เห็นถึง “บรรทัดฐาน” ที่นายพิธาอ้างถึงนั้น จะเทียบเคียงกับกรณีหุ้น ITV ของนายพิธา ได้มากน้อยแค่ไหน
โดยคดีดังกล่าว เป็นคดีเลือกตั้ง ซึ่งนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ยื่นฟ้อง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครนายก กรณีไม่ได้รับการประกาศรายชื่อเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยอ้างว่านายชาญชัยคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ตามบทบัญญัติของรับธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน)คำพูดจาก เว็บตรง PG SLOT
ซึ่งผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครนายก มองว่าบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) ประกอบกิจการสื่อมวลชนใดๆ โดยอ้อมเพราะมีบริษัทย่อยทางอ้อมเป็นบริษัท เทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด(มหาชน) ลักษณะธุรกิจเป็นผู้ให้บริการด้านการนำเสนอสื่อโฆษณาแบบออนไลน์ และบริการรับบริหาร และจัดทำรับบคอลเซนเตอร์ กับบริษัทเยลโล เพจเจส คอมเมอร์ส จำกัด ลักษณะธุรกิจเป็นผู้ให้บริหารธุรกิจสื่อโฆษณาออนไลน์
"พิธา"มั่นใจไร้อุบัติเหตุทางการเมือง แจงปมค้อนเคียว-หุ้นสื่อ ITV
“พิธา” พร้อมสู้ปมหุ้น ITV ซัดมีความพยายามคืนชีพสกัดกั้นทางการเมือง
โดยศาลฎีกาเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 98(3) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. 2561 มาตรา 42(3) มีเจตนารมณ์ เพื่อป้องกันมิให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.อาศัยความได้เปรียบ จากการเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชน เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษแก่บุคคลเพื่อประโยชน์ในทางการเมือง ซึ่งในขณะที่มีการเลือกตั้งย่อมหมายถึงการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ตนและพรรคการเมืองที่ตนสังกัดหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครและพรรคการเมืองอื่น
การจำกัดสิทธิผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. เพราะเหตุเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ หรือสื่อมวลชนใดๆ จึงต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญด้วย อีกทั้งรัฐธรรมนูญ มาตรา 98(3) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. 2561 มาตรา 42(3) เป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด และไม่เป็นการเพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ
ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฎว่า นายชาญชัยมีหุ้นในบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) จำนวนเพียง 200 หุ้น จากจำนวนหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมด 2,973,925,791 หุ้น และมูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัทตามราคาตลาด ณ สิ้นปี 2565 เป็นเงิน 579,971,000,000 บาท ในขณะที่หุ้นของนายชาญชัย มีมูลค่าตามราคาตลาดเป็นเงินเพียง 39,000 บาท
การที่นายชาญชัย เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทดังกล่าว จำนวนเพียง 200 หุ้น ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก นายชาญชัย ย่อมไม่มีอำนาจสั่งการให้บริษัทดังกล่าว ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ ตัวเองและพรรคการเมืองของตัวเอง หรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครและพรรคการเมืองอื่น เพื่อประโยชน์ ในการเลือกตั้งของนายชาญชัยได้ เนื่องจากมิใช่เจ้าของหรือมีจำนวนหุ้นในจำนวนมากพอที่จะสามารถกระทำเช่นนั้นได้
การตีความบทบัญญัติของกฎหมายตามลายลักษณ์อักษรให้ผู้ร้องมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เพราะเหตุเพราะเหตุเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) เพียง 200 หุ้น ย่อมไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
การที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครนายก ไม่ประกาศรายชื่อ นายชาญชัย เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครนายก จึงเป็นการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนุญ มาตรา 98(3) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.2561 มาตรา 42(3)
ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้เพิ่มชื่อ นายชาญชัย และประกาศรายชื่อเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครนายก ของพรรคประชาธิปัตย์